Sunday, May 24, 2015

ตำนานความรัก!! เจ้าชายจากสยาม กับ เจ้าหญิงล้านนา


ขึ้นชื่อว่า ‘ความรัก’ ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจจะแตกต่างกันไป บ้างคนนึกถึงรอยยิ้ม บ้างก็นึกถึง
ความสุข แต่มีอีกไม่น้อยที่นึกถึงคราบน้ำตา และความโศกเศร้า เพราะสุดท้ายต้องพบพานกับความผิดหวัง


อย่างเรื่องราวความรักของชายสูงศักดิ์ ผู้มีตำแหน่งเป็นถึงพระเจ้าลูกยาเธอ หลายคนอาจจะนึกว่า
คงสามารถใช้บรรดาศักดิ์ที่มีเอาชนะต่อปัญหาต่างๆ ได้ไม่ยาก แต่สำหรับเรื่องราวที่จะเล่าต่อไปได้
กลับไม่เป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะเมื่อคู่ที่พวกพระองค์คิดจะครองด้วยนั้นเป็นเจ้าหญิงล้านนา

กรณีแรกนั้นเกิดขึ้นในปี 2443 เป็นเรื่องราวของพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว พระนามว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นที่ 4 พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ซึ่งขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กับเจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าทักษิณนิเกตน์
หนานมหายศ

โดยระหว่างนั้น กรมขุนพิทยลาภฯ ได้รับพระบัญชาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้
เป็นข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ มณฑลพายัพ พร้อมกับนำกำลังทัพจำนวน 400 นายให้ขึ้นไป
รักษาความสงบที่เชียงใหม่ และปราบปรามขบถพญาผาบ ซึ่งเกิดขึ้นจากราษฎรกลุ่มหนึ่งไม่พอใจราช
สำนักเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีหมากแดง

และระหว่างนั้น พระองค์ได้มีโอกาสได้ยลโฉมเจ้าข่ายแก้ว ซึ่งเป็นพระธิดาของเสนาบดีกรมวัง ใน
พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ซึ่งเป็นที่เลื่อง
ลือในเรื่องความงามยิ่งนัก แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปสู่ขอ เพราะยำเกรงในบารมีของเจ้าทักษิณนิเกตน์ฯ

แต่เนื่องจากพระองค์เป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ จึงไม่หวั่นเกรงเรื่องดังกล่าว จึงได้ทำการสู่ขอเจ้าข่าย
แก้วมาเป็นพระชายา โดยมิได้แจ้งให้ฝั่งพระนครทราบเรื่อง ทว่าครั้งเมื่อเสร็จภารกิจ จึงทำหนังสือ
ขอพระบรมราชานุญาตเสกสมรส แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับ เพราะความจริงแล้ว ก็ทรงมีพระชายา
อยู่แล้วท่านหนึ่งคือ หม่อมเอม ธิดาหลวงวรศักดาพิศาล และมีพระโอรสธิดาด้วยกันแล้วหลายพระองค์

ด้วยเหตุนี้ พอจะกลับพระนคร จึงตัดสินใจเลิกรากับเจ้าข่ายแก้ว และปล่อยให้เป็นแม่ร้าง (แม่หม้าย
ที่เลิกกับสามี) อยู่เชียงใหม่ต่อไป โดยไม่ได้เสกสมรสอีก เช่นเดียวกับกรมขุนพิทยลาภฯ ที่นอกจาก
หม่อมเอมแล้วก็ไม่ใครหลังจากนั้นอีก

อีกเรื่องราวที่อาจจะดูกว่ารัดทนกว่าคู่แรกยิ่งนัก เป็นเรื่องผู้มีศักดิ์เป็นพระนัดดาของกรมขุนพิทยลาภฯ
นั่นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ 5 พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม กับเจ้าชม
ชื่น ณ เชียงใหม่ พระธิดาองค์โตของเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น

โดยเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2446 เมื่อกรมหมื่นพิไชยฯ เสด็จกลับจากการศึกษาที่อังกฤษ ก็ได้ขึ้น
ไปเที่ยวที่เชียงใหม่ พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมณฑลพายัพจึงได้จับงานรับเสด็จพระ
เจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ผู้ครอง
นครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 ให้เกียรติมาเป็นองค์ประธานรับเสร็จ พร้อมทั้งเชิญกรมหมื่นพิไชยฯ ให้
ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครแบบชาวเหนือแท้ๆ ด้วย ซึ่ง
ในงานนี้เจ้าหลวงได้เชิญพระประยูรญาติมาร่วมงานมากมาย รวมไปถึงเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ซึ่งเดิน
ทางมาพร้อมครอบครัว

ว่ากันว่า ความงามของเจ้าหญิงวัย 16 พรรษานั้นช่างสิริโฉมยิ่งหนัก ผิวพรรณผุดผ่อง แก้มสีชมพู ผิว
ขาวนวล แถมมีสุ้มเสียงอันไพเราะ เพียงแค่นี้ก็เอาเจ้าชายหนุ่มวัย 21 ถึงกลับตกตะลึงกันเลยทีเดียว

จากการพบกันครั้งนั้นทั้งสองได้มีโอกาสพบกันอีกหลายครั้ง โดยเจ้าชายได้เสด็จเยือนไปที่คุ้มของเจ้า
หญิงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดกรมหมื่นพิไชยฯ ก็ได้ติดต่อให้พระยานริศราชกิจ มาเป็นเถ้าแก่สู่ของ
เจ้าหญิงฝ่ายเหนือให้มาเป็นหม่อมในพระองค์

แต่ทว่าการเจรจาครั้งนี้กลับผิดหวัง เมื่อพระบิดาของเจ้าหญิงเกรงว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือน
เมื่อครั้งกรมขุนพิทยลาภฯ จึงได้ตั้งเงื่อนไขไว้ 2 ประการก็คือ ต้องรอให้เจ้าหญิงอายุครบ 18 ปี
เสียก่อน และตามธรรมเนียมประเพณีของกรุงรัตนโกสินทร์ หากพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดจะทำ
การอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้
หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ เพราะฉะนั้นหากถวายเจ้าหญิงในขณะนี้ก็จะตกอยู่ในสถานภาพ
ภรรยาน้อยเพียงเท่านั้น

จากความเสียใจที่การสู่ขอไม่ประสบความสำเร็จ กรมหมื่นพิไชยฯ จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพื่อขอ
พระบรมราชานุญาต แต่ทว่ากลับถูกคนรอบข้างทัดทานอย่างหนัก ด้วยเหตุผลนานานัปการ ก่อนที่จะ
อภิเษกสมรสกับ ม.จ.วรรณวิลัย กฤดากร ในอีกไม่นานนัก

ส่วนทางฝั่งลำพูนทราบข่าวว่าเจ้าชายทรงสมรสเป็นเรียบร้อย จึงให้เจ้าหญิงอภิเษกกับพระ
ญาติจากเมืองลำพูน นามว่า เจ้าน้อยสิงห์คำ ณ ลำพูน จนมีโอรสได้ 1 องค์

อย่างไรก็ตาม แม้ทั้งคู่จะถูกแยกจากกันด้วยการสมรส แต่ทว่าความถวิลหาก็ยังมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย
โดยว่ากันว่า กรมหมื่นพิชัยฯ ขณะที่ดำเนินเกวียนไปตรวจราชการที่ภาคอีสาน ได้ทรงนิพนธ์บทเพลง
ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ชื่อว่า ‘ลาวดำเนินเกวียน’ ซึ่งมีเนื้อหาเพรียกหาคนรัก โดยนำไปเปรียบเทียบกับดวง
จันทร์ และมีเนื้อหาเช่นนี้อยู่เต็มเพลง หลายจึงเรียกเพลงนี้ว่า ‘ลาวดวงเดือน’ และเมื่อทรงระลึก
ถึงความรักเก่าขึ้นมาคราใด ก็จะทรงดนตรีเพลงนี้อยู่เสมอและให้มหาดเล็กเล่นให้ฟังอยู่ร่ำไป

ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องเล่าอีกด้วยว่า จากความผิดหวังครั้งนี้ ทำให้พระองค์ทรงมุมานะกับราชกิจ
ของบ้านเมืองอย่างหนัก จนกระทั่งพระวรกายไม่สมบูรณ์ และประชวรด้วยพระวักกะเรื้อรัง และสิ้น
พระชนม์ในปี 2452 ขณะพระชนมายุได้เพียง 28 พรรษา

ส่วนเจ้าหญิงหลังรับทราบข่าว ก็ตรอมใจอย่างหนัก และถึงแก่อนิจกรรมลงหลังจากนั้นอีกประมาณ 1
ปี ปิดฉากตำนานรักของเจ้าชายสยามและเจ้าหญิงล้านนาอย่างสมบูรณ์แบบ

จากเรื่องราวความรักของเจ้านายไทยและล้านนาทั้ง 2 คู่ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า
ทำไมเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายตรงก็ทรงศักดิ์ทั้งคู่? ทำไมเมื่อคิดจะครองคู่กัน กลับมีอุปสรรคและจบลงด้วยการ
พลัดพรากเช่นนี้?

นเรนทร์ ปัญญาภู นักจดหมายเหตุอิสระ ซึ่งศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนามาอย่างยาวนาน อธิบายว่า
จริงๆ เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลมายังทวีปเอเชีย เพราะเดิมแคว้นล้าน
นานั้นถือเป็นรัฐกันชนกับระหว่างสยามกับพม่า แต่มาตอนหลังอังกฤษสามารถยึดพม่าได้ และเตรียมจะ
เข้ามาครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่งให้รัชกาลที่ 5 จำเป็นจะต้องปฏิรูประบบราชการใหม่หมด
และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากหัวเมืองชั้นนอก ชั้นนอก และประเทศราช มาเป็นอำเภอ จังหวัด
และมณฑล

ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านั้น สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษได้ทูลขอเจ้าดารารัศมี พระธิดา
องค์เล็กของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ซึ่งหมายถึงว่ามีโอกาสสูงมากที่
อาณาจักรล้านนาไทยจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ รัชกาลที่ 5 จึงทรงแก้เกมด้วยการส่งพระเจ้า
น้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (ตำแหน่งในขณะนั้น) ไปถวายของหมั้นแล้วรับตัวลงมาในพระบรม
ราชวัง มีฐานะเป็นพระสนมเอก

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ระหว่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทางเหนือกับทางตะวันตกนั้นมีอย่างยาว
นาน โดยเฉพาะการส่งออกทรัพยากร โดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งแทบจะไม่เข้ามาถึงกรุงเทพฯ เลย ขณะ
ที่วัฒนธรรมตะวันตกก็เริ่มเข้ามาเต็มไปหมด ทั้งการมีฟุตบอลคลับ แบดมินตันคลับ กอล์ฟคลับ ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงจะมีข่าวลือเกิดขึ้นอยู่เสมอว่า เจ้าทางฝ่ายเหนือจะคิดจะแยกตัวจากสยาม แล้วนำมา
สู่ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน

“บางองค์ที่ถูกส่งเข้ามาปกครองฝ่ายเหนือก็ถูกทำให้เชื่อว่า กลุ่มทางเหนือพยายามเอาใจออกห่าง
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งผ่านไปยังพวกเจ้าฝ่ายใน แล้วสร้างความเกลียดชังขึ้นมา เช่น เป็นชาติที่ไม่มี
อารยธรรม หรือเป็นเจ้าที่ศักดิ์ต่ำกว่า ทั้งที่ความจริงแล้ว วิทยาการของฝ่ายเหนือเองก็ไม่ได้ด้อย
กว่าสยาม”

ประกอบกับการเข้ามาในกรุงเทพฯ ของเจ้าดาราฯ นี้เอง ก็ทำให้ฝ่ายในในราชสำนักจำนวนไม่น้อย
รู้สึกไม่พอใจ หรือหมั่นไส้ เพราะทางหนึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับเจ้า
ดาราฯ มากเป็นพิเศษ ถึงขั้นยกให้เป็นพระมเหสีในตำแหน่ง พระราชชายาเจ้าดารารัศมี หรือแม้แต่
การสร้างตำหนักให้ต่างหาก

ยิ่งกว่านั้น ทางเจ้าดาราฯ เองก็มีความพยายามจะขยายอิทธิพลของพระองค์เองในราชสำนัก ไม่ว่า
จะเป็นการนำคนของตัวเองเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวังเป็นจำนวนมาก พร้อมกับนำวัฒนธรรม
ของฝ่ายเหนือ เข้ามาเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นการไว้ผมยาว ซึ่งถือต่างกับประเพณีไทย ก็ยิ่งสร้างความ
เกลียดชังเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งหมดให้เกิดขึ้นกับคนที่รู้สึกหมั่นไส้เป็นทุนเดิม

“ผมเชื่อว่าความเกลียดชังนั้นเกิดจากการที่ รัชกาลที่ 5 ทรงเลือกจะปกป้องเจ้าดาราฯ ซึ่งตรงนี้นำ
ไปสู่การให้ร้ายมากมาย เช่น การบอกว่ามีการใช้เสน่ห์มนต์ดำ หรือเครื่องแต่งกายที่เจ้าดาราฯ นำ
ผ้าซิ่นซึ่งใส่สบายกว่าไปเผยแพร่ ซึ่งหลายคนก็ยอมรับว่าเป็นแฟชั่นใหม่ แต่ฝ่ายในบางคนโดยเฉพาะ
พวกเจ้าจอมเก่าๆ ไม่ยอมก็ยังนุ่งผ้าโจมอกอยู่ ทั้งหมดนี้ ผมเชื่อมีส่วนสำคัญที่ทำให้หลายๆ คน โดย
เฉพาะบรรดาแม่ๆ ที่ไม่ยอมรับหากบุตรหลานของตัวเองจะไปมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเจ้าฝ่ายเหนือ”

ขณะที่เจ้านายสยามที่มีความสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือ ก็มักจะมีเชื้อสายมาจากฝั่งนั้นอยู่แล้ว เช่น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ 5 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ซึ่งทรงอภิเษกสมรส
กับเจ้าศิริมา ณ เชียงใหม่ เพราะพระมารดาของพระองค์ คือเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ นั้นเป็น
เจ้านายฝ่ายเหนือมาก่อนที่จะถวายตัวแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าความรักของเจ้าชายสยามและเจ้าหญิงล้านนาจะสิ้นหวังไปเสียทุกคู่ เพราะ
หลายๆ คู่ที่สามารถหลุดรอดจากอคติและได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ก็มีไม่น้อย เช่น ในกรณีของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ 5 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ที่ได้
อภิเษกสมรสกับ เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระนัดดาของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์

โดยบุคคลที่น่าจะมีบทบาทในเรื่องนี้สูงสุด ก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ 4 พระองค์เจ้า
ดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่
พยายามจะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายสยามและเจ้านายฝ่ายเหนือให้กลับมาใกล้ชิดกัน และนำไปสู่
การแต่งงานระหว่างกันอีกหลายคู่

“กรมพระยาดำรงฯ ท่านใช้หลักการไปมาหาสู่ การไว้เนื้อเชื่อใจ ตามเอกสารหลายๆ ฉบับ เห็นชัด
เลยว่าพระองค์ทรงมีลักษณะของความให้การเคารพและให้เกียรติ ซึ่งทางฝ่ายเหนือให้เกียรติด้วย
การให้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในการสนับสนุนเวลามีงานอะไรต่างๆ บ้าง เช่น งานแต่งงานของฝ่ายเหนือ
บางองค์ กรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงไปเป็นประธานก็มี”
............

ถึงตอนนี้ ตำนานรักดังกล่าวจะเป็นเพียงแค่อดีต ซึ่งไม่สามารถหวนคืนกลับมาได้อีกแล้ว แต่ในมุมหนึ่ง
ก็คงไม่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องราวเหล่านี้คือภาพสะท้อนที่ดีของสังคมไทยว่าเป็นเช่นใด ทั้งในแง่มุม
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนา รวมไปถึงความรู้สึกของผู้คน ที่ถึงจะทำเช่นใด ก็
ไม่มีทางพ้นบ่วงของ รัก โลภ โกรธ หลงไปได้


ที่มา : variety.teenee.com

Share this

0 Comment to "ตำนานความรัก!! เจ้าชายจากสยาม กับ เจ้าหญิงล้านนา"

Post a Comment